การแต่งกายข้าราชการท้องถิ่น
การเป็นพนักงานข้าราชการท้องถิ่นต้องเครื่องแบบข้าราชการให้ถูกต้องและเหมาะสมตามกฎระเบียบหรือแต่งกายให้ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติ เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2509 การแต่งกายที่ถูกต้องตามกฏระเบียบนั้นเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและเป็นแบบอย่างที่ดี รวมถึงการติดเครื่องหมายต่างๆ ด้วย ชุดข้าราชการท้องถิ่นมีทั้งชุดสีกากี และชุดขาวปกติ สำหรับข้าราชการท้องถิ่นที่บรรจุใหม่ ซึ่งยังไม่รู้ว่าต้องแต่งกายอย่างไร เราได้สรุปเอาเนื้อหาสาระสำคัญมาบอกต่อ
เครื่องแบบข้าราชการท้องถิ่น มีกี่ประเภท?
ชุดราชการท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ เครื่องแบบปฏิบัติราชการ (ชุดสีกากี) และเครื่องแบบพิธีการ (ชุดขาวปกติ) เครื่องแบบข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในแต่ละประเภทมีรายละเอียดที่ยิบย่อยลงไปอีก ดังต่อไปนี้
1.ชุดกากีท้องถิ่น
ชุดสีกากีหรือเครื่องแบบปฏิบัติราชการ มีสองประเภท คือ ชุดสีกากีคอพับ (แขนสั้น/แขนยาว) และชุดสีกากีคอแบะ การแต่งชุดข้าราชการสีกากี กรณีเป็นชุดสีกากีคอพับซึ่งมีทั้งแบบแขนสั้นและแขนยาว ข้าราชการชายสวมใส่เสื้อสีกากีและกางเกงขาวยาวสีกากี สวมใส่รองเท้าหุ้มส้นสีดำเป็นรองเท้าหนังหรือวัตถุหนังเทียม สวมใส่ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า ข้าราชการหญิงสวมใส่เสื้อสีกากีและกระโปรงสีกากียาวปิดเข่า สวมรองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นสีดำทำจากหนังหรือวัตถุหนังเทียม รองเท้าต้องสูงไม่เกิน 10 ซม. และไม่มีลวดลาย ชุดกากีคอพับทั้งแขนสั้นและแขนยาว ทั้งข้าราชการชาย-หญิงจะสวมใส่เข็มขัดมีรูปครุฎเป็นโลหะสีทองตรงกลาง สายเข็มขัดถักด้ายสีกากี กรณีเป็นชุดกากีคอแบะ ข้าราชการชายและหญิงสวมเสื้อสีกากีคอแบะ เสื้อแขนสั้น ปล่อยเอว
2.ชุดขาวท้องถิ่น
ชุดปกติขาวพนักงานราชการท้องถิ่นหรือเครื่องแบบพิธีการมักสวมใส่ในพิธีการสำคัญ หากเป็นงานศพหรืองานไว้ทุกข์จะสวมใส่ปลอกแขนสีดำด้วย ชุดขาวแบบพิธีการที่พบเห็นบ่อย มีดังต่อไปนี้
- ชุดปกติขาว สวมใส่เสื้อขาว กางเกงหรือกระโปรงสีขาว ข้าราชการชาย สวมเสื้อคอปิด มีกระเป๋าและใบปกกระเป๋าที่อกเสื้อทั้งสองข้าง ติดกระดุม 5 เม็ดตราครุฑ สวมกางเกงขายาวสีขาว รองเท้าหุ้มส้นสีดำสวมถุงเท้าสีดำ ข้าราชการหญิงมีรายละเอียดมากกว่าสวมเสื้อเชิ้ตตัวในสีขาว ผูกเนคไทค์ เสื้อตัวนอกคอแบะ แบบคอแหลมติดกระดุม 5 เม็ดหรือคอป้านติดกระดุม 3 เม็ด มีกระเป๋าเจาะสองข้างด้านล่าง สวมกระโปรงขาวยาวปิดเข่า สวมรองเท้าหุ้มส้นสีดำและสวมถุงน่องสีเนื้อ
- ชุดขาวแบบครึ่งยศ สวมใส่เสื้อสีขาวและกางเกงหรือกระโปรงสีดำ ในส่วนของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ลักษณะรวมถึงส่วนประกอบต่างๆ ให้แต่งเช่นเดียวกับชุดปกติขาว
- ชุดขาวเต็มยศ สวมใส่เสื้อสีขาวและกางเกงหรือกระโปรงสีดำ ในส่วนของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ลักษณะรวมถึงส่วนประกอบต่างๆ ให้แต่งเช่นเดียวกับชุดขาวครึ่งยศ สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือสายสะพาย
การติดเครื่องหมายชุดปกติขาวท้องถิ่น
นอกจากการแต่งเครื่องแบบพนักงานราชการให้ถูกต้องตามกฎระเบียบแล้ว การติดเครื่องหมายต่างๆ จะต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน การติดเครื่องหมายชุดปกติขาวท้องถิ่น เครื่องหมายที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้
-
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายสังกัดเครื่องหมายข้าราชการที่สำคัญ อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละกระทรวง สำหรับกระทรวงมหาดไทยจะเป็นรูปราชสีห์ ห้ามเคลือบพลาสติก โดยติดเครื่องหมายสังกัดที่คอปกเสื้อทั้งสองข้าง
-
แพรแถบ
ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ติดแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายทั้งชายและหญิง ข้าราชการชายให้ติดที่บริเวณอกเสื้อเหนือกระเป๋าด้านซ้าย
-
กระดุมครุฑ
กระดุมติดเสื้อมีลักษณะเหมือนกันทุกกระทรวง โดยทำจากโลหะโปร่งสีทองตราครุฑพ่าห์ กระดุมครุฑของข้าราชการชายมีขนาดใหญ่กว่ากระดุมครุฑข้าราชการหญิง
-
อินทรธนู
การติดเครื่องหมายอินทรธนูให้ติดที่ไหล่ทั้งสองข้างทั้งข้าราชการชายและหญิง อินทรธนูปักดิ้นทอง ลายช่อชัยพฤกษ์ เครื่องหมายอินทรธนูข้าราชการชายมีขนาดใหญ่กว่าข้าราชการหญิง
ชุดข้าราชการท้องถิ่นหญิง-ชาย ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามกฎระเบียบเพื่อให้สมเกียรติ ดูดีมีภูมิฐาน ดูสงาผ่าเผยน่าเชื่อถือและเป็นแบบอย่างที่ดี รวมถึงการติดเครื่องหมายราชการต่างๆ ด้วย ข้าราชการท้องถิ่นสวมชุดขาว ชุดสีกากีอย่างไรให้ถูกกฏระเบียบทั้งหมดนี้หวังว่าจะเป็นแนวทางให้กับทุกคนได้ นอกจากการแต่งเครื่องแบบข้าราชการท้องถิ่นจะสำคัญแล้วการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแผ่นดินหรือการทำงานเพื่อประชาชนนั้นสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน
ช่องทางการติดต่อ
วันทำการ : จันทร์ - เสาร์
เวลา : 10.00 น. - 18.00 น.
(ยกเว้นวันวันหยุดนักขัตฤกษ์)